GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 22 ฉบับที่ 2-3 พฤษภาคม-ธันวาคม 2023 (2023110303)

การจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน: การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ

Self-Management of Older Adults with Uncontrolled Hypertension in the Community: A Secondary Data Analysis

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองและความดันโลหิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้อมูลทุติยภูมิของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 26 ชุด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลสำหรับการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณาและสถิติความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมก่อนเข้าร่วมกิจกรรม หลังสิ้นสุดกิจกรรมทันที (สัปดาห์ที่ 4) และระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 8) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 15.00, df = 2, p < .001) การเปรียบเทียบรายคู่ พบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมหลังสิ้นสุดกิจกรรมทันที (สัปดาห์ที่ 4) เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 7.65 คะแนน (t = -7.65, p = .049) และคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 8) เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 14.11 คะแนน (t = -14.12, p < .001) และความดันซีสโทลิคก่อนเข้าร่วมกิจกรรม หลังสิ้นสุดกิจกรรมทันที (สัปดาห์ที่ 4) และระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 8) พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 36.25, df = 2, p < .001) โดยการเปรียบเทียบรายคู่พบว่า ค่าความดันซีสโทลิคหลังสิ้นสุดกิจกรรมทันที (สัปดาห์ที่ 4) ลดลงจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 16.15 มิลลิเมตรปรอท (t = 16.15 , p < .001) และค่าความดันซีสโทลิคระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 8) ลดลงจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 21.92 มิลลิเมตรปรอท (t = 21.92 , p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า กิจกรรมการจัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมดีขึ้นและสามารถลดความดันโลหิตได้

This research employed secondary data analysis to compare the self-care behavior and blood pressure of older adults before and after participating in self-management activities of older adults with uncontrolled hypertension in the community. The sample comprised 26 sets of secondary data on older adults with uncontrolled hypertension, which came from case record forms. The gathered data were analyzed using descriptive analysis and repeated measure ANOVA. The findings revealed that the overall self-care behavior for pre-participation, immediately after the end of the activity (Week 4), and the follow-up period (Week 8) were significantly different (F = 15.00; df = 2; p < .001). In terms of the paired comparison, the overall self-care behavior at the end of Week 4 increased from the post-participation with a statistical significance of 7.65 (t = -7.65; p = .049). Similarly, the overall self-care behavior at Week 8 increased from the pre-participation with a statistical significance of 14.11 (t = -14.12; p < .001). On the other hand, systolic blood pressure before participation, at the end of Week 4, and during Week 8 were significantly different (F= 36.25; df = 2; p < .001). Furthermore, the overall systolic blood pressure at the end of Week 4 decreased significantly from the pre-participation, which had a statistical significance of 16.15 (t = 16.15; p < .001). Similarly, the overall systolic blood pressure at Week 8 decreased significantly from the pre-participation, which had a statistical significance of 21.92 (t = 21.92; p < .001). The findings suggested that the self-management activities of older adults with uncontrolled hypertension would lead to an increase in self-care behavior and a decrease in blood pressure.

Keyword

ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ การจัดการตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ความดันโลหิต

Older adults with uncontrolled hypertension, Self-management, Self-care behavior, Blood pressure

Download:

References

  1. .World Health Organization. Global Health Observatory (GHO) [Internet]. 2016[cited 2022 Sep 1].
  2. Available from http://www.who.int/gho/ncd/risk_factors/ blood pressure text/en/.
  3. World Health Organization. More than 700 million people with untreated hypertension.
  4. [Internet]. 2021 [cited 2022 Sep 1]. Available from https://www.who.int/news/item/25-08- 2021-more-than-700- million-people-with-untreated-hypertension.
  5. Sangsuwan T, Jamulitrat S. Prevalence of uncontrolled blood Pressure in hypertensive patients attending the
  6. primary care unit of Songklanagarind hospital. J Health Sci Med Res. 2018; 36:11-27.
  7. วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
  8. ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
  9. Kaplan NM, Victor RG. Kaplan's clinical hypertension. 11th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2015.
  10. Ryan P, Sawin KJ. The individual and family self-management theory: background and perspectives on context,
  11. process, and outcomes. Nurs Outlook. 2009;57:217-225.
  12. นิศารัตน์ รวมวงษ์, อรพรรณ บุญลือ, เสาวภา เล็กวงษ์, สุธี สุนทรชัย. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรม
  13. สุขภาพในการลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลตำรวจ.
  14. 12:128-137.
  15. รุ่งรัตน์ สุขะเดชะ, วริศรา ปั่นทองหลาง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อ
  16. พฤติกรรมสุขภาพและค่าความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
  17. 34:71-86.
  18. Sutipan P, Intarakamhang U, Kittipichai W, Macaskill A. Effects of self-management program on healthy lifestyle
  19. behaviors among elderly with hypertension. J Behav Sci. 2018; 13:38-50.
  20. สายฝน วรรณขาว, ชุลีกร ด่านยุทธศิลป, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับความดันโลหิต
  21. และพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
  22. อุตรดิตถ์. 2562;11:126-141.
  23. เทวัญ ยอดยิ่ง. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองโดยการใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาเฉพาะรายในผู้ป่วย
  24. โรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2556;21:59-71.
  25. Park YH, Chang H, Kim J, Kwak JS. Patient-tailored self- management intervention for older adults with
  26. hypertension in a nursing home. J Clin Nurs. 2013; 22:710-722.
  27. บุษยา เพชรมณี, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล, กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์. ผลของโปรแกรมสนับสนุน
  28. การจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้.
  29. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2565; 36:85–101.
  30. วิชยา เห็นแก้ว, เบญจมาศ ถาดแสง, มณี กิติศรี, ฉัตรชัย ไวยะกา. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อ
  31. พฤติกรรม การจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร. 2560;44
  32. (ฉบับพิเศษ 2): 60–70.
  33. ประกาย จิโรจน์กุล, สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์, นิภา ลีสุคนธ์, เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, ณัฐนาฎ เร้าเสถียร, เรณู ขวัญยืน.
  34. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเอง ของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง.
  35. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2560; 28:29-43.
  36. Sukpattanasrikul S, Monkong S, Leelacharas S, Krairit O, Viwatwongkasem C. Comparison of hypertensive
  37. outcomes after the implementation of self-management program for older adults with uncontrolled
  38. hypertension in Krabi, Thailand: A quasi-experimental study. J Health Res. 2022; 36:641-651.
  39. โครงการพัฒนาระบบการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพชุมชนผ่านระบบฐานข้อมูลสุขภาพ (ศิริราชสานสองวัย: บางกอกน้อย
  40. โมเดล). รายงานโครงการการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน พ.ศ. 2563. กรุงเทพ :
  41. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.
  42. Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for
  43. correlation and regression analyses. Behav Res Methods. 2009; 41:1149-1160.
  44. สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562.
  45. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.
  46. ชลการ ชายกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและ
  47. ความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันยโลหิตสูง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
  48. พยาบาลผู้ใหญ่]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.
  49. ดมิสา เพชรทอง, ดาราวดี รักวงค์, นูไรดา แสสาเหตุ, อาริสา พันธุสะ, สมเกียรติยศ วรเดช, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์.
  50. การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: ความเครียดและแนวทางการจัดการความเครียด. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.
  51. 6:1-11.