GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2023 (1-16)

ผลการใช้แนวปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

Effect of Using the Practice Guideline of Health Personnel on Oral Health Care Among the Dependent Older Adults in the Community

Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่องปาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านฮ่องห้า โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 12 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแนวปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมสุขภาพช่องปากก่อนทดลองใช้แนวปฏิบัติ หลังทดลองใช้แนวปฏิบัติ 1 สัปดาห์ และหลังทดลองใช้แนวปฏิบัติ 2 สัปดาห์ เท่ากับ 5.83 (S.D.=1.99), 2.58 (S.D.=2.15) และ 3.25 (S.D.=2.18) ตามลำดับ ซึ่งสุขภาพช่องปากของกลุ่มตัวอย่างหลังทดลองใช้แนวปฏิบัติดีขึ้นก่อนทดลองใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=22.947, p < .001) สรุปได้ว่า การใช้แนวปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ส่งผลให้สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุดีขึ้น ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุข ได้แก่ ทันตบุคลากร และพยาบาลวิชาชีพ ในชุมชน ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ และนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้ร่วมกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้านอื่น

This study was a quasi–experimental research, one group pretest-posttest design, aimed to compare the oral health of dependent older adults in the community before and after the implementation of oral health care guidelines of health personnel. Twelve dependent older adults in the area of responsibility of Ban Hong Ha Sub-district Hospital were selected as sample group by purposive random sampling. The research tool consisted of 3 parts: general data questionnaire; Oral Health Assessment Tool (OHAT) and Practice Guidelines of Health Personnel on Oral Health Care of Dependent Older Adults. Data was analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and mean comparison (Friedman Test). The study showed that mean values before using the practice guideline, end of week 1 after using the practice guideline, and end of week 2 after using the practice guideline were 5.83 (S.D.=1.99), 2.58 (S.D.=2.15) and 3.25 (S.D.=2.18), respectively; and oral health of dependent older adults was statistically significant improved (F = 22.947, p < .001) after receiving oral health care following the practice guideline of health personnel. Therefore, health personnel, including dental personnel and professional nurses in community, should pay attention to oral health care of the older adults and apply this guideline to other health care aspects for the older adults.

Keyword

แนวปฏิบัติ, สุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, บุคลากรสาธารณสุข

the practice guideline, oral health care, dependent older adults, health personnel

Download: