GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2024 (24082002)

E02: ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโรคประจำตัวในกลุ่มโรคหลอดเลือดกับกลุ่มอาการผู้สูงอายุ: การศึกษาภาคตัดขวางในคลินิกสูงอายุ โรงพยาบาลพัทลุง

E02: Association between the Number of Vascular Comorbidities and Geriatric Syndromes: A Cross-Sectional Study at the Geriatric Clinic, Phatthalung Hospital

Abstract

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางใช้ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยที่รับบริการคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลพัทลุง จำนวน 539 คน เพื่อศึกษาความชุกของกลุ่มอาการผู้สูงอายุและหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโรคประจำตัวในกลุ่มโรคหลอดเลือดกับกลุ่มอาการผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาความชุก วิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับจำนวนโรคประจำตัวในกลุ่มโรคหลอดเลือด ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอาการผู้สูงอายุที่พบมากที่สุด ได้แก่ ภาวะเสี่ยงหกล้ม (ร้อยละ 54.66) ภาวะบกพร่องทางด้านการมองเห็น (ร้อยละ 43.52) และภาวะสมองเสื่อม (ร้อยละ 25.77) ตามลำดับ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการผู้สูงอายุกับจำนวนโรคประจำตัวในกลุ่มโรคหลอดเลือดด้วยสถิติไคสแควร์ พบว่ากลุ่มอาการผู้สูงอายุที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนโรคประจำตัวในกลุ่มโรคหลอดเลือด ได้แก่ ภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (p<0.001) ภาวะสมองเสื่อม (p=0.004) ภาวะเสี่ยงหกล้ม (p<0.001) และภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (p=0.023) วิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุคูณพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับการมีโรคประจำตัวในกลุ่มโรคหลอดเลือดมากกว่า 2 โรค ได้แก่ เพศชาย (OR=1.78, 95%CI: 1.15, 2.76) การมีภาวะเสี่ยงหกล้ม (OR=1.70, 95%CI: 1.15, 2.51) และการมีภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวันพื้นฐานระดับติดบ้านและติดเตียง (OR=2.07, 95%CI: 1.01, 4.26) สรุปว่า จำนวนโรคประจำตัวในกลุ่มโรคหลอดเลือดมากกว่า 2 โรคในผู้สูงอายุสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงหกล้มและภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวันพื้นฐานระดับติดบ้านและติดเตียง ในบริบทของการดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ควรให้ความสำคัญกับกลุ่มอาการผู้สูงอายุที่พบบ่อย เช่น ภาวะเสี่ยงหกล้ม ภาวะบกพร่องทางด้านการมองเห็น และภาวะสมองเสื่อม

This study aims to investigate the prevalence of geriatric syndromes and examine the association between these syndromes and the number of vascular comorbidities. This cross-sectional study utilized the medical records of 539 elderly patients attending the Geriatric Clinic at Phatthalung Hospital. Descriptive statistics were used to assess the prevalence, while logistic regression analysis identified factors associated with the number of vascular comorbidities. The three most common geriatric syndromes identified were falling (54.66%), visual impairment (43.52%), and dementia (25.77%). Significant associations were found between the number of vascular comorbidities and the following geriatric syndromes: dependency in basic activities of daily living (p<0.001), dementia (p = 0.004), fall risk (p<0.001), and urinary incontinence (p = 0.023). Multiple logistic regression analysis revealed that factors significantly associated with a higher number (>2 diseases) of vascular comorbidities (p<0.05) included male gender (OR=1.78, 95%CI: 1.15, 2.76), fall risk (OR=1.70, 95%CI: 1.15, 2.51), and dependency in basic activities of daily living at partially and totally dependent (OR=2.07, 95%CI: 1.01, 4.26). In conclusion, having more than two vascular comorbidities was significantly associated with increased fall risk and ADL dependence, highlighting the importance of monitoring these conditions in elderly care. Prioritizing interventions for commonly encountered geriatric syndromes, such as fall risk, visual impairment, and dementia, is recommended for independent older adults.

Keyword

ความชุก, กลุ่มอาการผู้สูงอายุ, คลินิกผู้สูงอายุ

Prevalence, Geriatric syndrome, Geriatric clinic

Download:

References

  1. วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
  2. อนันต์ คำอ่อน. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพื้นที่นำร่องอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. โรงพยาบาลชุมแพ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [อ้างเมื่อ 26 พฤษภาคม 2567]. จาก:https://cphos.go.th/new-cphos/view_document.php?document_code= VkZaU1VtVm5 QVDA9&doc=active
  3. Reis Júnior WM, Ferreira LN, Molina-Bastos CG, Bispo Júnior JP, Reis HFT, Goulart BNG. Prevalence of functional dependence and chronic diseases in the community-dwelling Brazilian older adults: an analysis by dependence severity and multimorbidity pattern. BMC Public Health. 2024;24(1):140.
  4. Seesophon S, Buranruk O, Chaiyakul Y. Factors related to visual impairment among the elderly in urban areas, Khon Kaen Province, Thailand. Thai Journal of Public Health. 2022;52:164-174.
  5. Getachew T, Mengistu M, Getahun F. Prevalence of visual impairment and associated factors among older adults in Southern Ethiopia, 2022. Clin Optom (Auckl). 2024;16:1-16.
  6. Sprinzl GM, Riechelmann H. Current trends in treating hearing loss in elderly people: a review of the technology and treatment options - a mini-review. Gerontology. 2010;56(3):351-8.
  7. Reed NS, Garcia-Morales EE, Myers C, Huang AR, Ehrlich JR, Killeen OJ, et al. Prevalence of Hearing Loss and Hearing Aid Use Among US Medicare Beneficiaries Aged 71 Years and Older. JAMA Netw Open. 2023;6(7):e2326320.
  8. ปิติคุณ เสตะปุระ, ณัฐธกูล ไชยสงคราม. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2565;16(3):1070-1084.
  9. อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร, วิชุดา จิรพรเจริญ, กนกพร ภิญโญพรพาณิชย์, ชัยสิริ อังกุระวรานนท์, อัศวิน โรจนสุมาพงศ์, ชลอวัฒน์ อินปา, และคณะ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ คลินิกผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2021;29(1):1-11.
  10. Senanarong V, Jamjumrus P, Harnphadungkit K, Vannasaeng S, Udompunthurak S, Prayoonwiwat N, et al. Risk factors for dementia and impaired cognitive status in Thai elderly. J Med Assoc Thai. 2001;84(4):468-474.
  11. Limpawattana P, Sawanyawisuth K, Soonpornrai S, Huangthaisong W. Prevalence and recognition of geriatric syndromes in an outpatient clinic at a tertiary care hospital of Thailand. Asian Biomedicine. 2011;5 (4): 493-497.
  12. ชมนาด ศิริรัตน์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยสูงอายุที่รับการรักษาในแผนกจิตเวช โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2563; 17(2): 35-47.
  13. สายสุนีย์ เลิศกระโทก, สุธรรม นันทมงคลชัย, ศุภชัย ปิติกุลตัง. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2556;43(1):42-52.
  14. อรุณโรจน์ รุ่งเรือง, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;17(1):272-287.
  15. ชนินท์ ประคองยศ, ศุภิสรา ผลประสิทธิโต. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2564; 8(2):136-147.
  16. Chuansangeam M, Wuthikraikun C, Supapueng O, Muangpaisan W. Prevalence and risk for malnutrition in older Thai people: A systematic review and meta-analysis. Asia Pac J Clin Nutr. 2022;31(1):128-141.
  17. Jitapunkul S, Khovidhunkit W. Urinary incontinence in Thai elderly living in Klong Toey slum. J Med Assoc Thai. 1998;81(3):160-168.
  18. Thammakoon T, Gouwown K. Urinary Incontinence in Phitsanulok Urban Community. Buddhachinaraj Medical Journal 2008; 25:19-26.
  19. Lee PG, Cigolle C, Blaum C. The co-occurrence of chronic diseases and geriatric syndromes: the health and retirement study. J Am Geriatr Soc. 2009;57(3):511-6.
  20. Vetrano DL, Foebel AD, Marengoni A, Brandi V, Collamati A, Heckman GA, et al. Chronic diseases and geriatric syndromes: The different weight of comorbidity. Eur J Intern Med. 2016; 27:62-67.
  21. Rausch C, van Zon SKR, Liang Y, Laflamme L, Möller J, de Rooij SE, et al. Geriatric syndromes and incident chronic health conditions among 9094 Older Community-Dwellers: Findings from the lifelines Cohort Study. J Am Med Dir Assoc. 2022;23(1):54-59.
  22. จตุพร เหลืองอุบล, สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพจน์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงวัยในเขตมหาสารคาม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2020;27(3):11-21.
  23. กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. แบบทดสอบสภาพสมองของไทย. สารศิริราช 2536;45:359-374.
  24. Jitapunkul S, Kamolratanakul P, Ebrahim S. The meaning of activities of daily living in a Thai elderly population: development of a new index. Age Ageing. 1994;23(2):97-101.
  25. ปิติพร สิริทิพากร, วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, ดุจปรารถนา พิศาลสารกิจ, เพ็ญศรี เชาวน์พานิชย์เวท, ไพฑูรย์ เหล่าจันทร์, สุทิศา ปิติญาณ, และคนอื่นๆ. ความชุกของกลุ่มอาการสูงอายุและลักษณะของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2019;37:20-29.
  26. Boongird C, Thamakaison S, Krairit O. Impact of a geriatric assessment clinic on organizational interventions in primary health-care facilities at a university hospital. Geriatr Gerontol Int. 2011;11:204-210.
  27. Feltner C, Wallace IF, Kistler CE, Coker-Schwimmer M, Jonas DE, Middleton JC. U.S. Preventive Services Task Force Evidence Syntheses, formerly Systematic Evidence Reviews. Screening for Hearing Loss in Older Adults: An Evidence Review for the US Preventive Services Task Force. Rockville (MD): Agency for Healthcare Research and Quality (US); 2021.