GGM
Journal of Gerontology
and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)
ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2024 (63-75)
การเปรียบเทียบปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทางเวชกรรมระหว่างผู้สูงอายุที่มีปริมาณกิจกรรมทางกายน้อยกับผู้สูงอายุที่มีปริมาณกิจกรรมทางกายมาก
The Comparisons of Social and Clinical Factors between Older People with Low Physical Activity and Those with High Physical Activity
ประเสริฐ อัสสันตชัย1, อภิวรรณ ณัฐมนวรกุล2, วีระศักดิ์ เมืองไพศาล1 , หฤษฎ์ ปัณณะรัส1, สุชานันท์ กาญจนพงศ์1
Prasert Assantachai1, Apiwan Nuttamonwarakul2 , Weerasak Muangpaisan1, Harisd Phannarus1, Suchanan Kanjanapong1
1ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ
2สำนักงานเลขานุการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี
1Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
2Office of the Secretary, Department of Medical Services, Ministry of Public Health, Nonthaburi, Thailand
กิจกรรมทางกายมีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมาก โดยเฉพาะเป็นเกณฑ์หนึ่งในการวินิจฉัยภาวะเปราะบาง รวมทั้งยังเป็นหนึ่งในการรักษาหลักของภาวะเปราะบางด้วย แต่รูปแบบกิจกรรมทางกายมีได้หลายลักษณะ ทำให้มีความจำเป็นที่บุคลากรทางสุขภาพสามารถวัดและแปลผลปริมาณกิจกรรมทางกายประจำวันโดยรวมของผู้สูงอายุได้ นอกจากนั้น การศึกษาหาปัจจัยทั้งทางสังคมและปัจจัยทางเวชกรรมที่พบในกลุ่มที่มีกิจกรรมทางกายน้อย ย่อมมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ได้ใช้เครื่องมือวัดปริมาณกิจกรรมทางกายขององค์การอนามัยโลก Global Physical Activity Questionnaire(GPAQ) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่างในชุมชนเมืองจากจังหวัดลำปาง 256 คน ชุมชนชนบทจากจังหวัดชุมพร 181 คน รวมเป็นทั้งหมด 437 คน ค่า GPAQ เฉลี่ยในชายเท่ากับ 3,340.5 + 4,592.1 MET min ต่อสัปดาห์ ในผู้หญิงเท่ากับ 1.635.4 + 2535.5 MET min ต่อสัปดาห์ ค่าปริมาณกิจกรรมทางกายที่ 20th percentile ในชายเท่ากับ 600 MET min ต่อสัปดาห์ ในหญิงเท่ากับ 368 MET min ต่อสัปดาห์ ผลการใช้จุดตัดที่ 20th percentile นี้ ทำให้สามารถแยกเป็นกลุ่มที่มีปริมาณกิจกรรมทางกายน้อย 52 คน (ร้อยละ 15.3) และกลุ่มที่มีปริมาณกิจกรรมมาก 287คน (ร้อยละ 84.7) ปัจจัยทางสังคมที่พบในกลุ่มที่มีกิจกรรมทางกายน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การอยู่กับคู่สมรส ร้อยละ 80.8 การศึกษาระดับประถมหรือต่ำกว่า ร้อยละ 86.5 เศรษฐานะที่ไม่ดี ร้อยละ 40.4 ส่วนปัจจัยทางเวชกรรมที่พบในกลุ่มที่มีกิจกรรมทางกายน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีโรคความดันเลือดสูง (p 0.019) การมีจำนวนโรคร่วมมาก (p 0.017) การมีคะแนนที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า (p 0.005) กำลังแรงบีบมือต่ำในชาย (p 0.042) และการมีภาวะเปราะบาง (p < 0.001) กล่าวโดยสรุป บุคลากรทั้งทางสังคมและทางสุขภาพในชุมชนควรให้ความสำคัญกับกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงทางสังคมต่อการมีกิจกรรมทางกายน้อย เพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน บุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญกับกลุ่มที่มีปัจจัยทางเวชกรรมต่อการมีกิจกรรมทางกายน้อย ทั้งในด้านการคัดกรองโรคร่วม การมีภาวะซึมเศร้า และการพยายามวินิจฉัยภาวะเปราะบาง เพื่อนำไปสู่การรักษาโรค การฟื้นฟูบำบัด และการป้องกันความพิการ
Physical activity is crucial for the health of older people. It is one of the diagnostic criteria for frailty phenotype as well as one of its main treatments. However, since there are various modalities of physical activity, it is necessary for health care providers to be able to quantify and interpret the total daily amount of physical activity. Furthermore, the study of social and clinical factors associated with low physical activity would be useful for physical activity campaign. This cross-sectional study used Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ), proposed by World Health Organization. Two hundred fifty-six older people living in urban area of Lampang province and one hundred eighty-one older people living in rural area of Chumphon province were recruited. The total amount of participants was 437 subjects. The mean GPAQs in male and female were 3,340.5 + 4,592.1 and 1,635.4 + 2,535.5 MET min per week, respectively. The 20th percentile of GPAQ in older men was 600 MET min per week while it was 368 MET min per week for older women. With these GPAQ cut-off points, fifty-two subjects (15.3%) were classified as low physical activity group while 287 subjects (84.7%) were in high physical activity group. The social factors associated with low physical activity group were, namely, living with spouse (80.8%), primary school education or lower (86.5%) and poor financial status (40.4%). Meanwhile, the clinical factors associated with low physical activity group were hypertension (p 0.019), higher number of co-morbid diseases (p 0.017), higher score for risk of depression (p 0.005), low handgrip strength in men (p 0.042) and frailty (p <0.001). In conclusion, the social factors associated with low physical activity could be used by the social and health personnel in the community to screen and provide health care to those in need of increased physical activity. In the meantime, the health care providers should place a higher priority to those who have the clinical factors of low physical activity, i.e., higher number of co-morbid diseases, risk of depression, as well as to diagnose frailty. Sequentially, the corresponding treatment and rehabilitation could prevent disability in older people.
กิจกรรมทางกาย, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยทางสังคม, ปัจจัยทางเวชกรรม, ภาวะเปราะบาง
Physical activity, Older people, Social factor, Clinical factor, Frailty
GGM
Journal of Gerontology
and Geriatric Medicine