GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2562 (9-21)

การประมาณการณ์และแนวโน้มกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

Estimates and Trends in Health Workforce to Support Long-Term Care for Older Persons

Abstract

การศึกษาการประมาณการณ์และแนวโน้มกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ทบทวนวรรณกรรมการประมาณการณ์กำลังคนด้านสุขภาพทั้งในและต่างประเทศ 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์กำลังคนด้านสุขภาพในด้านประเภทของกำลังคน แนวโน้มกำลังคนและการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ และ 3) ประมาณการณ์และแนวโน้มความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เป็นการสังเคราะห์วรรณกรรมจากรายงานการวิจัย เอกสารทางวิชาการ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่มีน่าเชื่อถือและสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กโทนิคและออนไลน์ รวมทั้งตำราจากทั้งในและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า การดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวต้องการกำลังคนด้านสุขภาพเพิ่มเติมจากการดูแลการเจ็บป่วยเฉียบพลัน คือ ต้องการแพทย์ประมาณ 2,042 คน พยาบาลจำนวน 58,841 คน นักกายภาพบำบัดจำนวน 3,649 คน ผู้ช่วยพยาบาล จำนวน 412 คน และผู้ช่วยผู้ดูแลหรือนักบริบาล 82,528 คน ในขณะที่ภาพรวมยังขาดแคลนกำลังคนที่เป็นทางการในระบบบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อต้องเพิ่มความต้องการกำลังคนเพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จึงทำให้เกิดการขาดแคลนกำลังคนที่เป็นทางการมากยิ่งขึ้น ในส่วนของผู้ช่วยดูแลหรือนักบริบาล หลักสูตรมุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุทั่วไปทำให้มีข้อจำกัดทางด้านสมรรถนะและทักษะในอาชีพ ทำให้ไม่สามารถให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยได้ ส่วนกำลังคนที่เป็นทางการที่เป็นอาสาสมัคร มีประมาณ 23,324 คน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) และจิตอาสาต่างๆ การทำงานของอาสาสมัครเหล่านี้ได้เน้นไปที่การดูแลในด้านกิจวัตรประจำวันและด้านสังคม ไม่ได้มุ่งเน้นด้านสุขภาพ จึงทำให้การปฏิบัติงานของอาสาสมัครยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่มีภาวะช่วยเหลือตัวเองลดลงและต้องการการดูแลสุขภาพในระยะยาว ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ ควรวางแผนพัฒนากำลังคนทั้งวิชาชีพและไม่ใช่วิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุในแต่ระดับ จัดทำฐานข้อมูลผู้ให้บริการและผู้รับบริการ พัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคน ภาครัฐควรมีนโยบายส่งเสริมการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพ มีกลไกการควบคุมคุณภาพการผลิตและพัฒนาบุคลากร รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาระบบการทำงานและการมอบหมายงานอย่างเหมาะสม โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอุปกรณ์การช่วยดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสม การจัดสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ คือ ส่งเสริมสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานให้ผลิตกำลังคนสำหรับดูแลผู้สูงอายุ พัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเฉพาะกับการดูแลระยะยาว ส่งเสริมการดูแลแบบองค์รวมและโดยสหวิชาชีพรวมทั้งส่งเสริมให้พื้นที่ทดลองนำกำลังคนที่พึงประสงค์ไปทดลองใช้และประเมินผลอย่างเป็นระบบ

The study on “Estimates and trends in health workforce to support long-term care for older persons” aimed to 1) To review the literature on workforce estimation at nationally and internationally 2) To analyze and synthesize the type, trending and management of health workforce 3) To estimate and trends in the need for health workforce to support long-term care for older persons. The literatures were reviewed from research reports, academic documents, articles from reputable journals, electronic, and online publications, including textbooks from national and international publications. The results founded that the need for health workforce in long-term care for older persons is an additional need from acute care setting, including the need for Physicians of 2,041 people, Nurses of 58,841 people, Physiotherapist of 3,649 people, Practical nurse of 412 people, and care assistants of 82 528 people. Whist, the overall shortage of health workforce in the field of medical and public health service system have already evidenced. Therefore, the increasing needs of long-term care workforce for older persons would result in the worsen shortage of health workforces. For care assistants, the curriculum focuses on general care for older persons, resulting in limitations in competency and skills in the profession and leading the inability to provide care for ill health older persons. For formal workforce who are a volunteer group, there are 23,324 people, including Village health volunteers (VHV), Home care volunteers for elderly (HCVE), and others. Their works have focused on taking care of the daily routines and social aspects not on health. Therefore, the performance of volunteers cannot meet the needs of older persons with chronic illnesses, having lower levels of self-care and need long-term health care. Policy recommendations included strategic planning for workforce development to meet the need of older persons, set up a database of service provider and care receivers, the development of health workforce management, the government should have policies to promote the production of health workforce and develop mechanisms for quality control and regulation on the workforce development. Including supporting the development of work systems and appropriate job assignment by using innovation and technology to assist older persons with proper care, environmental management and safety workplace. Practice recommendations, include promoting educational institutions or agencies to produce a workforce for older person, develop or improve the curriculum to be specific to long-term care, promote holistic care and care by the multidisciplinary team, as well as encourage the experimental area to use the desired workforce to experiment and evaluate systematically .

Keyword

การประมาณการณ์ แนวโน้ม กำลังคนด้านสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

estimation, trends, health workforce, long-term care for older persons

Download: