GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2020 (47-63)

การเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี

Comparison of the Effectiveness of Fall Prevention Training Programs in Healthy Elderly

Abstract

การหกล้มเป็นปัญหาหลักของผู้สูงอายุดังนั้นการป้องกันการเกิดการหกล้มจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาสังคมสูงวัยระดับสุดยอดที่กำลังจะตามมา ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบการฝึกเพื่อป้องกันการล้มทั้ง 3 รูปแบบได้แก่ การฝึกทางด้านร่างกาย การฝึกการทำงานของสมอง และการฝึกการทำงานร่วมกันของร่างกายและสมอง โดยทำการพัฒนาโปรแกรมการฝึกและนำรูปแบบการฝึกที่ได้ไปฝึกในอาสาสมัครผู้สูงอายุสุขภาพดีในชุมชน 3 กลุ่ม โดยทำการฝึกครั้งละ 1 ชั่วโมง จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน ทำการวัดผลก่อนและหลังการฝึกออกกำลังกาย ใช้สถิติ Analysis of covariance (ANCOVA) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผลการศึกษาพบว่าหลังจากการฝึกอาสาสมัครในกลุ่มที่ฝึกการทำงานร่วมกันของร่างกายและสมองและอาสาสมัครในกลุ่มที่ฝึกทางด้านร่างกายมีความเสี่ยงต่อการหกล้ม (p = 0.003),ระยะเวลาที่ใช้ในการตอบสนอง(p = 0.002) ,ความไม่สม่ำเสมอในการก้าวเดิน (p = 0.008)และการกลัวการหกล้ม(p = 0.008) ที่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอาสาสมัครในกลุ่มที่ฝึกการทำงานของสมอง และอาสาสมัครในกลุ่มที่ฝึกทางด้านร่างกายมีการแกว่งของจุดรวมมวลที่น้อยกว่าอาสาสมัครในกลุ่มที่ฝึกการทำงานของสมอง(p = 0.021) จึงสามารถสรุปได้ว่าการฝึกทางด้านร่างกายเพื่อป้องกันการหกล้มอย่างสม่ำเสมอมีประสิทธิผลในการฝึกที่ดีในการป้องกันการหกล้มและสามารถนำไปใช้ฝึกได้ด้วยตนเองหรือตามชุมชนอย่างปลอดภัย

Falls are one of the major problems in the elderly. Therefore, preventing falls is important issue in order to cope with the problem from upcoming “Super Aged Society”. This study aimed to develop and compare the effectiveness among the three community-based fall prevention training programs (Cognitive training, Physical training and combined physical and cognitive training). The fall prevention training program was develop and be trained in the community dwelling older adults which dived into three groups. The training duration was 1 hour, 3 times per week for 3 months (36 training sessions). Assessors blinded to participants will conduct pre-intervention and post-intervention assessments. Analysis of Covariance (ANCOVA) were used to determine the difference of each outcome measure among groups. Significant level was set at p<0.05. The results showed that participants in physical training group and combined physical and cognitive training group performed significantly better than participants in cognitive training group after training on fall risk score (p = 0.003), reaction time (p = 0.002) , step variability (p = 0.008)and fear of falling (p = 0.008). Moreover, participant in physical training group performed significantly better than participants in cognitive training group on postural sway (p = 0.021). Finding from this study suggest that regularly fall prevention training with physical training was effective to prevent falls. The elderly are able to self-training and training safety in community.

Keyword

ผู้สูงอายุ การล้ม การฝึกเพื่อป้องกันการล้ม การเดิน

elderly, falls, falls prevention training, gait

Download: