GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2020 (110-120)

ปัจจัยทำนำยพื้นที่ไขมันช่องท้องของผู้สูงอำยุไทยที่สำมำรถทำกิจวัตรประจำวันได้เอง

Factors Predicting the Visceral Fat Area in Functionally Independent Thai Elderly

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่ไขมันช่องท้อง (VFA) ในผู้สูงอายุที่ยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เอง โดยทำการศึกษาผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จำนวน 72 คน อายุ 60-89 ปี ในช่วงปี พ.ศ.2557-2558 ข้อมูลเบื้องต้นและข้อมูลการบริโภคอาหารได้จากแบบสอบถาม ค่าองค์ประกอบร่างกาย ได้แก่ ส่วนสูงได้จากการวัดความยาวของช่วงแขน เส้นรอบเอวและเส้นรอบสะโพกโดยใช้เทปวัดสายโลหะ ความหนาลำตัวโดยใช้เครื่องวัดความหนาลำตัวแนวตั้ง และค่า VFA จากการวัดโดยเครื่อง DXA หาอิทธิพลของปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อ VFA ในผู้สูงอายุโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ย VFA เท่ากับ 121 ± 50 ซม.2 โดยมีความหนาลำตัว อายุ งานอดิเรกที่ใช้แรง การเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพศ และค่าดัชนีมวลกายเป็นปัจจัยที่มีผลต่อค่า VFA ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวสามารถใช้ทำนายพื้นที่ไขมันช่องท้องได้ร้อยละ 97 (R=0.985, SEE=23.85 cm2, P < 0.0001) และมีสมการความถดถอยซึ่งแสดงความสัมพันธ์ ดังนี้ VFA = (6.704xความหนาลำตัว)–(0.842xอายุ)–(16.899xทำสวน)+(16.238xเป็นโรคความดันโลหิตสูง)–(22.184xเพศ)+(3.852xค่าดัชนีมวลกาย) อย่างไรก็ดี การศึกษานี้มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาที่ทำการศึกษา จึงไม่สามารถเปรียบเทียบปัจจัยที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลได้ ดังนั้นควรทำการศึกษาระยะยาวเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง VFA ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการแนะนำให้กับผู้ใหญ่ตลอดจนผู้สูงอายุในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดี

This study aimed to determine the factors influencing the visceral fat area (VFA) in community-dwelling Thai elderly. The subjects were 72 elderlies aged 60-89 years. This study was conducted in the area surrounding Mahidol University, Salaya Campus, during 2014-2015. Demographic and dietary pattern was obtained from the questionnaires. The anthropometric variables examined were height calculated from the measurement of the arm span, waist and hip circumference measured by using metal tape measure, sagittal abdominal diameter (SAD) by using a sliding-beam caliper and VFA measured by DXA. The results showed that the average VFA was 121 ± 50 cm2. A combination of suitable predictors of VFA was derived by stepwise multiple regression analysis using these variables. A prediction equation was obtained using six predictors: SAD, age, recreational activity, disease, sex and BMI (R=0.985, R2 =0.970, SEE=23.85 cm2). This study provides a useful prediction equation for VFA which are as follows: VFA= (6.704xSAD) – (0.842xage) – (16.899xRecreational activity-gardening) + (16.238xDisease-hypertension) – (22.184xsex) + (3.852xBMI). However, this study was limited by the duration of study, which was relatively short. Therefore, intra-individual longitudinal study should be conducted for monitoring the factors influencing VFA. It will be beneficial to advise the adults as well as the elderly to change their behavior to achieve good health.

Keyword

ผู้สูงอายุไทยในชุมชน, พื้นที่ไขมันช่องท้อง, ระดับกิจกรรมทางกาย, การทดสอบสมรรถภาพความแข็งแรงทางกายสำหรับผู้สงอายุ, องค์ประกอบร่างกาย

Community-dwelling Thai elderly; Visceral fat area; Physical activity level; Senior fitness test; Body composition

Download: