GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2021 (01-10)

คุณภาพชีวิตมิติสุขภาพช่องปากกับจำนวนฟันที่เหลือในช่องปากของผู้สูงอายุไทยในชนบทภาคเหนือ

Oral Health-Related Quality of Life and the Number of Remaining Teeth Among Rural Thai Older People in Northern Thailand

Abstract

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และ ความสัมพันธ์ของจำนวนฟันธรรมชาติที่เหลือในช่องปากกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป อาศัยในตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน จำนวน 427 คน เก็บข้อมูลโดยใช้การตรวจทางคลินิก ตรวจจำนวนฟันธรรมชาติที่เหลือในช่องปาก จำนวนคู่สบฟันหลัง และการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลคุณภาพชีวิตมิติสุขภาพช่องปาก ประเมินด้วยดัชนีผลกระทบจากสภาวะช่องปากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน (Oral Impact on Daily Performance: OIDP) วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก ผลการศึกษา: พบว่าผู้สูงอายุ มีอายุเฉลี่ย 70.3 ± 7.9 ปี มีจำนวนฟันธรรมชาติที่เหลือในช่องปากเฉลี่ย 18.8 ± 9.1 ซี่ ร้อยละ 61.1 มีจำนวนฟันธรรมชาติที่เหลือในช่องปากตั้งแต่ 20 ซี่ ขึ้นไป ร้อยละ 50.6 มีจำนวนคู่สบฟันหลัง (POPs) ≥ 4 คู่ ร้อยละ 39.8 ของผู้สูงอายุได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติช่องปาก โดย มิติสุขภาพช่องปากทางด้านกายภาพมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าทางด้านสังคมหรือจิตใจ โดยผลกระทบของสุขภาพช่องปากด้านการกินอาหารพบมากที่สุด ร้อยละ 35.6 จำนวนคู่สบฟันหลัง น้อยกว่า 4 คู่ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adjusted OR = 1.67; 95%CI = 1.01 - 2.69) สรุป: ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากโดยเฉพาะด้านการกินอาหาร โดยจำนวนคู่สบฟันหลัง น้อยกว่า 4 คู่ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก

Objective: This cross-sectional analytical study aimed to examine the prevalence in Oral Health-Related Quality of Life and the impact of having teeth on related dimensions of quality of life in rural older people. Method: The sample, 427 older people aged 60 years and above, live in Tapadook district, Mae Ta District, Lamphun Province. Data were collected using clinical examination, including the number of remaining teeth and the number of posterior occluding pair (POPs) and a face-to-face interview, data on Oral Health-Related Quality of Life (OHRQoL) were collected using Thai version of the Oral Impacts on Daily Performance (OIDP). Descriptive statistics and logistic regression were performed. The Results: It was shown that mean age of subjects was 70.3 ± 7.9 years, mean number of remaining teeth was 18.8 ± 9.1. More than 60% had ≥ 20 remaining teeth and 50.6% had ≥ 4 POPs. The prevalence of overall Oral Impacts on Daily Performances was 39.8%. Oral health's influence on quality of life was perceived to be largely physical rather than social or psychological aspects. Eating was reported as the highest oral impact score for 35.6%. There were no statistically significant differences in the perception of the impacts. There were statistically significant correlations between oral impacts and having < 4 POPs (adjusted OR = 1.67; 95%CI = 1.01-2.69). Conclusion: The prevalence of Oral Health-Related Quality of Life on physical dimensions was high and associated with having less than 4 pairs of posterior teeth among rural Thai older people.

Keyword

คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, สุขภาพช่องปาก, จำนวนฟันธรรมชาติที่เหลือในช่องปาก, จำนวนคู่สบฟันหลัง, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก

Keywords: older people, oral health, remaining teeth, posterior occluding pair, Oral Health-Related Quality of Life

Download: