GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2021 (11-22)

ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ: การพยาบาลเพื่อป้องกันตามหลักฐานเชิงประจักษ์

Postoperative Delirium in Older Adults: Empirical Evidence-Based Nursing Intervention for Prevention

Abstract

ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มอาการการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ไม่มีสมาธิ การรู้คิดและความเข้าใจบกพร่อง สูญเสียการรับรู้เกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่ และบุคคล ระยะเวลาการเกิดดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และมีอาการดีขึ้นเลวลงสลับกัน ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้สูงอายุผ่าตัด มีความรุนแรงตั้งแต่ทุพพลภาพจนถึงแก่ชีวิตภายหลังจำหน่าย ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จากการทบทวนงานวิจัยตามหลักฐานเชิงประจักษ์การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังการผ่าตัด แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ก่อน ขณะ และหลังผ่าตัด และการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการฟื้นหายของผู้สูงอายุภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด พยาบาลซึ่งเป็นผู้ดูแลใกล้ชิดกับผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ควรมีความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ และเครื่องมือที่ใช้ประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด เพื่อประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันในระยะเริ่มต้น ร่วมกับการให้การพยาบาลที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุทั้งในระยะก่อน ขณะและหลังการผ่าตัดจะเป็นการป้องกันการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Post-operative delirium (POD) in the older adults is a neuropsychiatric syndrome; disturbance in consciousness, change in concentration, cognition and perception, disorientation about the date, time, place and person, acute onset and fluctuation. POD is serious and common complication in older adults that undergo major surgery which has high morbidity and mortality rate. The negative impacts to the older adults are physical, mental, social and economic aspects in the short and long term. Nurses, who take care of older adult patients as bedside caregivers and underwent surgery, should have knowledge about POD, causes and risk factors, signs & symptoms and assessment tools to evaluate or detect the risk of developing delirium and provide appropriate nursing intervention. Based on empirical evidence-based nursing practice, managing the consequence of POD can be divided into 3 phases: pre-operation, intra-operation and post-operation nursing implementation.

Keyword

ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด ผู้สูงอายุ หลักฐานเชิงประจักษ์

Postoperative Delirium Older Adults Evidence-Based nursing

Download: