GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2022 (e01)

E01: ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่เข้ารับการบริการในห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า : การศึกษาเชิงผสมผสาน

E01: Prevalence and Risk Factors Associated with Frailty Among Older Patients in Out-Patient Department Phramongkutklao Hospital: A Mixed Method Study

Abstract

ภาวะเปราะบางเป็นปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำคัญตามมาทั้งที่สามารถป้องกันได้ การศึกษาในประเทศไทยนั้นยังมีน้อยและไม่แพร่หลาย ในประเทศไทยพบความชุกของภาวะดังกล่าวร้อยละ 5-15 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุ และสอบถามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก ศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปที่เข้ารับบริการห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก วันที่ 1 มี.ค. - 30 มิ.ย. 2564 เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์มาตรฐาน แบบประเมินผู้สูงอายุตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะเปราะบางโดยใช้เกณฑ์วินิจฉัยตาม FRAIL scale วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ binary logistic regression ด้วยระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการ thematic analysis จากผู้สูงอายุเข้าร่วมจำนวน 90 คน ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะเปราะบางอยู่ที่ 11 คน คิดเป็นร้อยละ 12.2 มีปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุคือ รายได้ที่ไม่เพียงพอและความอยากอาหารลดลง จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบประเด็นหลักได้แก่ (1) ความเข้าใจในความหมายของภาวะเปราะบาง (2) สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (3) การเชื่อตามความเห็นของแพทย์ผู้รักษา (4) การเผยแพร่และอยากส่งต่อความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเปราะบางให้แก่ผู้อื่น สรุปผลได้ว่าภาวะเปราะบางเป็นหนึ่งในภาวะสำคัญของผู้สูงอายุ สัมพันธ์กับรายได้และการรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอ สามารถให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะเปราะบางได้

Frailty, the medical problem in the elderly, leads to many major complications that can be prevented. However, There were less studys of frailty and they were not spreading. Prevalence of frailty in Thailand shows 5-15 percentage. Objectives of this research were to study prevalence of frailty and associating risk factors of frailty in older patients in out-patient department and to study knowledge and comprehension of frailty in older adults. This study was a concurrent mixed method study in older above 60 years old patient in out-patient department. At 1 March 2021 until 30 June 2021, they were collected data for interviewing with questionnaires, activity of daily living evaluating and Frailty scale questionnaires. Data was analyzed using descriptive statistic and binary logistic regression with a statistically significant at 0.05 level. In-depth interviewing was done with thematic analysis method. Of the 90 enrolled patients, the prevalence of frailty was 11 persons as 12.2%. Associating factors were declined of appetite and not enough income. In-depth interviewing showed in four aspects such as (1) understanding of meaning of frailty (2) causes and factors related to frailty (3) belief and following of treatment (4) spreading of knowledge about frailty to others. Frailty is one of the important health problems in older adults and it associates with enough income and eating. Giving knowledge and comprehension of frailty to older patients can prevent frailty.

Keyword

ภาวะเปราะบาง, ผู้สูงอายุ, ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก

Frailty, Older adults, Out-patient department