GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2022 (e02)

E02: ผลของโปรแกรมอบรมผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุต่อความรู้เจตคติและความมั่นใจในการดูแลในชุมชน

E02: The Impact of the Assisted-Caregivers Training Program for Community-Dwelling Older Adults on the Knowledge, Attitude, and Confidence of the Caregivers.

Abstract

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ในขณะที่อัตราส่วนของผู้ดูแลต่อผู้สูงอายุยังอยู่ในภาวะที่ขาดแคลน การพัฒนาโปรแกรมอบรมผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในชุมชนที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการส่งเสริมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวและชุมชน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมอบรมผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุต่อความรู้ เจตคติและความมั่นใจในการดูแลในชุมชน ซึ่งการวิจัยกึ่งทดลองเปรียบเทียบก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สนใจเข้าร่วมโปรแกรมการอบรมจำนวน 57 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมอบรมรวม 70 ชั่วโมง เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ครั้งคือ ก่อน-หลังเข้าร่วมโปรแกรมและระยะติดตาม 3 เดือน โดยใช้แบบวัด 3 ชุด คือ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ เจตคติต่อผู้สูงอายุและความมั่นใจในการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Friedman Test และ One-Way ANOVA Repeated Measure Test ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ช่วยเหลือดูแลหลังเข้ารับการอบรบโปรแกรมทันที และระยะติดตาม 3 เดือน มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติ (p < 0.001) และคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุหลังการเข้ารับการอบรมโปรแกรมทันทีสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ลดลงในระยะติดตาม 3 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนคะแนนเฉลี่ยเจตคติเกี่ยวกับผู้สูงอายุของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุไม่แตกต่างกันทั้งก่อน-หลังเข้ารับการอบรมโปรแกรมทันที และระยะติดตาม 3 เดือน ดังนั้นการจัดโปรแกรมอบรมผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในชุมชนควรเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างเจตคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุ รวมทั้งกิจกรรมเชิงปฏิบัติการที่เสริมสร้างความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

Currently, Thailand is entering the aging society completely while the caregiver: the older adults ratio is still limited. The development of the effective assisted-caregivers training program for community-dwelling older adults is a mechanism for driving the health promotion for older adults living in family and community. This study aimed to determine the impact of the assisted-caregivers training program for community-dwelling older adults on the knowledge, attitudes, and confidence in older adults care skills. This research is quasi-experimental study, compare pre-test with post-test. A total of 57 participants interested in the training program were recruited into the study. The participants were received a 70-hour training program. The data were collected 3 times: before participating in the training program, after completing the program, and after 3-month follow-up. Three questionnaires were used for assessing knowledge of caring for older adults, attitude toward older adults, and the confidence in older adults care skills. Friedman Test and One-Way ANOVA Repeated Measure Test were employed for data analysis. The results showed statistically significant increase in the knowledge of caring for older adults after completing the program, and after 3-month follow-up (p < 0.001). The confidence in older adults care skills after completing the program were increased significantly (p < 0.05) but decreased significantly after 3-month follow-up (p < 0.05). No statistically significant difference was found in the attitudes toward older adults for all three measures. Thus, the assisted-caregivers training program for community-dwelling older adults should include learning activities to enhance positive attitude toward older adults and workshop to enhance the confidence in older adults care skills continuously.

Keyword

ผู้สูงอายุ, ผู้ดูแล, ความรู้, เจตคติ, ความมั่นใจ

Older adults, Caregivers, Knowledge, Attitude, Confidence

Download: