GGM
Journal of Gerontology
and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)
ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2024 (2023030101)
E01: การเปรียบเทียบเครื่องมือ Modified-FRAX Hip Score กับ Thai-FRAT เพื่อประเมินโอกาสในการเกิดกระดูกสะโพกหักจากการหกล้มในผู้สูงอายุ
E01: The Comparison of Modified-FRAX Hip Score and Thai-FRAT for Predicting Hip Fractures from Falls in Older Adults.
อัญชลี สีกัน1, สุพรรษา ยาใจ1, วรพงษ์ สุจริตพงษ์พันธ์2
Unchalee Seekan1, Supansa Yajai1, Worapong Sucharitpongpan2
1เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน
2ศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน
¹Department of Family Medicine, Nan Hospital, Nan, Thailand
²Department of Orthopaedic Surgery, Nan Hospital, Nan, Thailand
ภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุเพิ่มอัตราการป่วย อัตราการตาย และเพิ่มโอกาสกระดูกหักซ้ำ เครื่องมือที่ใช้ประเมินการหกล้มกระดูกสะโพกหักมีหลากหลาย การเลือกใช้เครื่องมือแต่ละประเทศแตกต่างกันการศึกษาเรื่องการเปรียบเทียบเครื่องมือ modified-FRAX Hip Score กับ Thai-FRAT มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโอกาสในการเกิดกระดูกสะโพกหักจากการล้มในผู้สูงอายุวิธีการศึกษาเป็นเชิงวิเคราะห์แบบภาพตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน จากฐานข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขของสถานบริการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่านปีพ.ศ. 2564 มาคำนวณค่าคะแนนจากเครื่องมือประเมินทั้งสองชนิดจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและหาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือกับข้อมูลกระดูกสะโพกหักจากการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรงจากฐานข้อมูลการรักษาในโรงพยาบาลน่านผลการศึกษาพบว่าจำนวนผู้สูงอายุ14,062 ราย ชาย 6,408 ราย (45.6%) หญิง 7,654 ราย (54.4%) กลุ่มผู้สูงอายุที่หกล้มกระดูกสะโพกหักมักเป็นกลุ่มที่มีอายุเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีกระดูกสะโพกหัก (80.3 + 8.9, 69.6 + 7.4 ตามลำดับ) เส้น ROC curve ของเครื่องมือ modified-FRAX Hip Score ทำนายกระดูกสะโพกหักดีกว่า Thai-FRAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001, 95%CI 0.102-0.169)และค่าคะแนน modified-FRAX Hip Score เท่ากับ 2.15 มีดัชนีของ Youden สูงสุดเท่ากับ 0.506 และมีความไวเท่ากับร้อยละ 70.6 ความจำเพาะเท่ากับร้อยละ 80 สรุปได้ว่าเครื่องมือ modified-FRAX Hip Score สามารถใช้เป็นแบบคัดกรองการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุกลุ่มใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำช่วยทำนายโอกาสในการเกิดกระดูกสะโพกหักในอนาคตของผู้สูงอายุ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนป้องกันความเสี่ยงการหกล้มกระดูกสะโพกหักในระดับชุมชน ลดเวลา และลดค่าใช้จ่ายได้
Hip fractures in older people increase morbidity and mortality and increase the chance of recurrent fractures. There are a variety of tools used to assess falls and hip fractures. The selection of tools for each country is different. The objective of the study was to compare the modified-FRAX Hip score with Thai-FRAT to screen for hip fracture risk in older Thai adults. The study method was a cross-sectional analytic study of health screening data for the elderly 60 years and over in Muang District, Nan Province. The data from the public health office database in 2021 to calculate scores from both types of assessment tools. Statistical data analysis and the relationship between the tools and hip fracture data from nonfatal injuries from the Nan Hospital database were analyzed. Results indicated that the number of older people 60 years and over was 14,062 subjects, male 6,408 (45.6%), female 7,654 (54.4%). The older people group with hip fractures had a higher average age than those without hip fractures (80.3 ± 8.9 and 69.6 ± 7.4, respectively). The ROC curve showed that using the values of the modified-FRAX Hip score was significantly better than using Thai-FRAT for predicting hip fractures (p-value <0.001, 95%CI 0.102-0.169). Finding a suitable cut-off value using Youden's index, showed that the modified-FRAX Hip score at the cut-off score of 2.15 had the highest Youden's index of 0.506, with 70.6% sensitivity and 80% specificity. In conclusion, the modified-FRAX hip score is a screening method that can quickly and accurately screen large elderly populations. It can help predict the chances of future hip fractures in older people. The benefit is reducing costs and time-saving. It can be utilized in planning to prevent falls and hip fractures at the community level. Keywords: FRAX Hip score, Osteoporosis, hip fracture, Thai-FRAT, Elderly, Falling
แบบประเมินกระดูกหัก, กระดูกพรุน, กระดูกสะโพกหัก, แบบประเมินหกล้ม, ผู้สูงอายุ, หกล้ม
FRAX Hip score, Osteoporosis, hip fracture, Thai-FRAT, Elderly, Falling
GGM
Journal of Gerontology
and Geriatric Medicine