GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2023 (e01)

E01 : ผลการใช้แนวปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

E01 : Effect of Using the Practice Guideline of Health Personnel on Oral Health Care Among the Dependent Older Adults in the Community

Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่องปาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านฮ่องห้า โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 12 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแนวปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมสุขภาพช่องปากก่อนทดลองใช้แนวปฏิบัติ หลังทดลองใช้แนวปฏิบัติ 1 สัปดาห์ และหลังทดลองใช้แนวปฏิบัติ 2 สัปดาห์ เท่ากับ 5.83 (S.D.=1.99), 2.58 (S.D.=2.15) และ 3.25 (S.D.=2.18) ตามลำดับ ซึ่งสุขภาพช่องปากของกลุ่มตัวอย่างหลังทดลองใช้แนวปฏิบัติดีขึ้นก่อนทดลองใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=22.947, p < .001) สรุปได้ว่า การใช้แนวปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ส่งผลให้สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุดีขึ้น ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุข ได้แก่ ทันตบุคลากร และพยาบาลวิชาชีพ ในชุมชน ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ และนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้ร่วมกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้านอื่น

This study was a quasi–experimental research, one group pretest-posttest design, aimed to compare the oral health of dependent older adults in the community before and after the implementation of oral health care guidelines of health personnel. Twelve dependent older adults in the area of responsibility of Ban Hong Ha Sub-district Hospital were selected as sample group by purposive random sampling. The research tool consisted of 3 parts: general data questionnaire; Oral Health Assessment Tool (OHAT) and Practice Guidelines of Health Personnel on Oral Health Care of Dependent Older Adults. Data was analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and mean comparison (Friedman Test). The study showed that mean values before using the practice guideline, end of week 1 after using the practice guideline, and end of week 2 after using the practice guideline were 5.83 (S.D.=1.99), 2.58 (S.D.=2.15) and 3.25 (S.D.=2.18), respectively; and oral health of dependent older adults was statistically significant improved (F = 22.947, p < .001) after receiving oral health care following the practice guideline of health personnel. Therefore, health personnel, including dental personnel and professional nurses in community, should pay attention to oral health care of the older adults and apply this guideline to other health care aspects for the older adults.

Keyword

แนวปฏิบัติ, สุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, บุคลากรสาธารณสุข

the practice guideline, oral health care, dependent older adults, health personnel

Download:

References

  1. Dahm TS, Bruhn A, LeMaster M. Oral care in the long-term care of older patients: how can the dental hygienist meet the need? Am J Dent Hyg. 2015;89(4):229–237.
  2. Oda K, Montayre J, Parsons J, Boyd M. Oral care in hospital settings: breaking the vicious circle of older adult deconditioning. J Gerontol Nurs. 2021;47(6):7-12.
  3. Red A, O'Neal PV. Implementation of an evidence-based oral care protocol to improve the delivery of mouth care in nursing home residents. J Gerontol Nurs. 2020;46(5):33-39.
  4. Chalmers JM, King PL, Spencer AJ, Wright FA, Carter KD. The oral health assessment tool--validity and reliability. Aust Dent J. 2005;50(3):191-199.
  5. บรรลุ ศิริพานิช, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562. กรุงเทพ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2562.
  6. ปณิธาน สนพะเนา. วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 2562;5(1):4-12.
  7. สุภาพร ผุดผ่อง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2563; 4(1):101-119.
  8. อาณัติ มาตระกูล, จรัญญา หุ่นศรีสกุล, อัจฉรา วัฒนาภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำความสะอาดช่องปากผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแล ในจังหวัดกระบี่. ใน : เอกสารการประชุมวิชาการเสนอผลงาน วิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ วันที่ 10 มีนาคม 2560 ณ อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560. หน้า 813-825.
  9. สุภาพร พลายบุญ. การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.
  10. สุมิตรา วิชา, ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร, เบญจพร เสาวภา, ธนกฤษ หมื่นก้อนแก้ว, สุภา ศรีรุ่งเรือง, ณัชพันธ์ มานพ. การศึกษารูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฮ่องห้า อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสาร มฉก.วิชาการ.2561;22(43-44):70-85.
  11. ถาวร มาต้น. ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข (Research Methodology in Public Health). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2561.
  12. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2559.
  13. คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [อ้างเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564]. จาก: https://apps.hpc.go.th/dl / web/upFile/2021/03-10169-0210309160752/2e32f087f6466b7bbec2f2846d6ba9fa.pdf.
  14. คณะทำงานจัดทำแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลอนามัยช่องปากของผู้สูงอายุ สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย. แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลอนามัยช่องปากของผู้สูงอายุ. กรุงเทพ: สมาคมฯ; 2564.
  15. กองทันตสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุข ปี 2563. กรุงเทพมหานคร: กองทันตสาธารณสุข สำนักอนามัย; 2563.
  16. Chalmers J, Johnson V, Tang JH, Titler MG. Evidence-based protocol: oral hygiene care for functionally dependent and cognitively impaired older adults. J Gerontol Nurs. 2004;30(11):5-12.
  17. Sharkawy, AT, Said AR, Hady RM. Application of IOWA model evidence-based practice on maternity nurses regarding postpartum hemorrhage. J Crit Rev. 2020;7(5):883-891.
  18. ชิสา ตัณฑะกูล, จันทร์พิมพ์ หินเทาว์, วรรธนะ พิธพรชัยกุล. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุติดบ้านหรือติดเตียงในชุมชนบ้านดอนแสลบ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2565;16(3):193-206.
  19. กนกพรรณ งามมุก, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. การดูแลความสะอาดช่องปากในผู้ป่วยวิกฤต เพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ: การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วชิรสารการพยาบาล. 2559;18(2):1-11.
  20. ขวัญเรือน ชัยนันท์, สุรีย์ จันทรโมลี, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, มยุนา ศรีสุภนันต์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง เทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(1):91-107.
  21. Paula C. The Impact of motivational interviewing in reducing plaque and bleeding indices on probing in adult users of the family health strategy. Brazil Res Pediatr Dent Integr Clin. 2015;15(1):183-196.
  22. Lee HK, Choi SH, Won KC, Merchant AT, Song KB, Jeong SH, et al. The effect of intensive oral hygiene care on gingivitis and periodontal destruction in type 2 diabetic patients. Yonsei Med J. 2009;50(4):529-536.