GGM
Journal of Gerontology
and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)
ปีที่ 22 ฉบับที่ 2-3 พฤษภาคม-ธันวาคม 2023 (61-70)
การจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน: การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ
Self-Management of Older Adults with Uncontrolled Hypertension in the Community: A Secondary Data Analysis
เสาวลักษณ์ สุขพัฒนศรีกุล1, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์1, พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร1, บุษรา หิรัญสาโรจน์1, อภิรฎี พิมเสน1, ประภัสสร พิมพาสาร1, ประเสริฐ อัสสันตชัย2, วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ2, นริศ กิจณรงค์2, ศิวะพร ไชยนุวัติ2, สุกรี กาเดร์2,
Saowaluck Sukpattanasrikul1, Virapun Wirojratana1, Patsamon Khumtaveeporn1, Budsara Hiransaroj1, Apiradee Pimsen1, Parpatsorn Pimpasan1, Prasert Assantachai2, Varalak Srinonprasert2, Siwaporn Chainuvati2, Sukree Kade2, Kantamas Supamanee2, Naris Kitnarong2
1คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
1Faculty of Nursing, Mahidol University
2Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University
การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองและความดันโลหิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้อมูลทุติยภูมิของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 26 ชุด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลสำหรับการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณาและสถิติความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมก่อนเข้าร่วมกิจกรรม หลังสิ้นสุดกิจกรรมทันที (สัปดาห์ที่ 4) และระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 8) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 15.00, df = 2, p < .001) การเปรียบเทียบรายคู่ พบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมหลังสิ้นสุดกิจกรรมทันที (สัปดาห์ที่ 4) เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 7.65 คะแนน (t = -7.65, p = .049) และคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 8) เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 14.11 คะแนน (t = -14.12, p < .001) และความดันซีสโทลิคก่อนเข้าร่วมกิจกรรม หลังสิ้นสุดกิจกรรมทันที (สัปดาห์ที่ 4) และระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 8) พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 36.25, df = 2, p < .001) โดยการเปรียบเทียบรายคู่พบว่า ค่าความดันซีสโทลิคหลังสิ้นสุดกิจกรรมทันที (สัปดาห์ที่ 4) ลดลงจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 16.15 มิลลิเมตรปรอท (t = 16.15 , p < .001) และค่าความดันซีสโทลิคระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 8) ลดลงจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 21.92 มิลลิเมตรปรอท (t = 21.92 , p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า กิจกรรมการจัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมดีขึ้นและสามารถลดความดันโลหิตได้
This research employed secondary data analysis to compare the self-care behavior and blood pressure of older adults before and after participating in self-management activities of older adults with uncontrolled hypertension in the community. The sample comprised 26 sets of secondary data on older adults with uncontrolled hypertension, which came from case record forms. The gathered data were analyzed using descriptive analysis and repeated measure ANOVA. The findings revealed that the overall self-care behavior for pre-participation, immediately after the end of the activity (Week 4), and the follow-up period (Week 8) were significantly different (F = 15.00; df = 2; p < .001). In terms of the paired comparison, the overall self-care behavior at the end of Week 4 increased from the post-participation with a statistical significance of 7.65 (t = -7.65; p = .049). Similarly, the overall self-care behavior at Week 8 increased from the pre-participation with a statistical significance of 14.11 (t = -14.12; p < .001). On the other hand, systolic blood pressure before participation, at the end of Week 4, and during Week 8 were significantly different (F= 36.25; df = 2; p < .001). Furthermore, the overall systolic blood pressure at the end of Week 4 decreased significantly from the pre-participation, which had a statistical significance of 16.15 (t = 16.15; p < .001). Similarly, the overall systolic blood pressure at Week 8 decreased significantly from the pre-participation, which had a statistical significance of 21.92 (t = 21.92; p < .001). The findings suggested that the self-management activities of older adults with uncontrolled hypertension would lead to an increase in self-care behavior and a decrease in blood pressure.
ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ การจัดการตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ความดันโลหิต
Older adults with uncontrolled hypertension, Self-management, Self-care behavior, Blood pressure
GGM
Journal of Gerontology
and Geriatric Medicine