GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2021 (81-86)

การจัดการดูแล ภาวะ Long COVID ในผู้สูงอายุ

Management of Long COVID in Older Adults

Abstract

การป้องกันและรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นประเด็นปัญหาทั่วโลก แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อ COVID-19 ไม่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่จากการศึกษาติดตามผู้ป่วยหลังการติดเชื้อในระยะเวลาตั้งแต่ 4 สัปดาห์ไปแล้ว กลับพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งรายงานว่ามีอาการผิดปกติในระบบต่างๆของร่างกาย ที่พบบ่อย ได้แก่ อาการเหนื่อยล้า และหายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุที่พบอาการได้มากกว่าคนวัยอื่นๆ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย อีกทั้งบางอาการยังสามารถประเมินได้ยาก เช่น ภาวะซึมสับสน ความอยากอาการลดลง ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าผู้สูงอายุกลุ่มนี้มักมีอาการวิตกกังวลและมีภาวะซึมเศร้าตามมาด้วย การศึกษาเกี่ยวกับอาการข้างต้นจึงเป็นประเด็นที่ต้องตระหนักอย่างยิ่งเช่นกัน จึงเริ่มมีการให้คำนิยามของอาการเหล่านี้ว่า “Long COVID” รวมไปถึงได้มีการพัฒนาแนวทางฉบับเร่งด่วน ไว้เป็นกรอบในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการ Long COVID สำหรับบุคลากรทีมสุขภาพด้วย ซึ่งบททวนวรรณกรรมนี้อย่างย่อนี้ได้รวบรวมนำเสนอแนวทางฉบับเร่งด่วน ที่มีหลักฐานสืบค้นได้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ Long COVID

Prevention and treatment of coronavirus disease 2019 (COVID-19) is a global issue. Although a majority of patients infected with COVID-19 may not develop severe symptoms or die, but a follow-up study of the patients four weeks after the infection found that some patients reported having abnormalities in various body systems, the most common being fatigue and breathlessness. This is especially so among older patients who have more symptoms than patients of other ages due to changes in their bodys with ages. Additionally, some symptoms can be difficult to assess, such as confusion and decreased appetite. Moreover, it was found that these older patients were more likely to experience symptoms of anxiety and depression. The study of these symptoms suggested that there may be other important issues to be concerned. Thus, healthcare professionals have begun to define these conditions as a "Long COVID" and a rapid guideline has been developed for healthcare teams as a framework for caring of patients with Long COVID. This shot communication review is presenting the information from rapid guideline as Evidenced in scientific documents for applying in colling olden patients with Long COVID

Keyword

ลองโควิด ผู้สูงอายุ การจัดการ แนวทางการดูแล

Long COVID, Older persons, Managing, Guideline

Download: