GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2022 (49-63)

การพัฒนารูปแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการให้คำปรึกษาออนไลน์สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

Model Development of Self-Help Group Aided by Tele-Consultation for Caregivers of Dependent Older Adults Patients.

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการให้คำปรึกษาออนไลน์สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ วิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และประเมินผล โดยการวิจัยเชิงปริมาณแบบกึ่งทดลองหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อน-หลัง เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลัง ใช้สถิติการทดสอบที สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกัน (paired t-test) ต่อด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลและผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 45 คน ผลการวิจัย รูปแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ แผนการดำเนินกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 6 ครั้ง ต่อเนื่องทุกสัปดาห์ และระบบการให้คำปรึกษาออนไลน์ มี 2 ช่องทาง ได้แก่ กลุ่มไลน์ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และบัญชีไลน์ทางการสำหรับการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล พบว่าคะแนนเฉลี่ยภาระในการดูแลและปัญหาสุขภาพจิตโดยรวมของผู้ดูแล ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วย ระหว่างก่อนและหลังจากการที่ผู้ดูแลเข้าร่วมกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาเชิงคุณภาพสนับสนุนว่า ผู้ดูแลส่วนใหญ่เรียนรู้ทั้งเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองและผู้ป่วย มีความสามารถในการดูแล และผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น ระบบการให้คำปรึกษาออนไลน์ทำให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ดีขึ้น และได้รับข้อมูลสุขภาพที่น่าเชื่อถือจากทีมสุขภาพ สรุป รูปแบบที่พัฒนาขึ้น สามารถช่วยให้ผู้ดูแลมีสุขภาวะที่ดีขึ้นในแง่ภาระการดูแลลดลงและมีสุขภาพจิตดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยสูงอายุมีภาวะพึ่งพิงลดลงและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่อื่นๆ และควรติดตามประเมินผลในระยะยาวต่อไป

This study aimed to develop a self-help group (SHG) aided by a tele-consultation model for caregivers of dependent older adult patients. The research and development process is divided into 3 phases: situation analysis, model development, and evaluation through a quasi-experiment in one group pretest-posttest design. Compare the difference between the average of before and after scores. Use paired t-test statistics, followed by qualitative research through group discussions and content analysis. The participants consisted of 45 caregivers and elderly patients. Results: The model consists of two parts: The SHG aided by a tele-consultation program six times weekly, and the online consulting system there were two channels: the Line group of caregivers and the Line Official Account for individual counseling. It found that the average score, burden of care and overall mental health problems of caregivers, the ability to perform daily routine, and health-related quality of life of the patient before and after their caregivers joined the SHG There was a statistically significant difference at 0.05. The qualitative research results supported that caregivers learned about their health and patient care and improved competence enabling patients to help themselves more. The online counseling system provides better access to medical services and reliable health information from the health team. Conclusions: This developed model could decrease caregiver burdens and improve caregivers' mental health. In addition, older patients were reduced dependent status and had a better quality of life. It could adapt to other area contexts and should monitor for long-term evaluation.

Keyword

กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การให้คำปรึกษาออนไลน์

Caregiver, Dependent Older Adult Patients, Self Help Group, Tele-Consultation

Download:

References

  1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฯ; 2563.
  2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. Health Data Center; 2563 [ออนไลน์]. 2563. [อ้างเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563]. จาก : https://shorturl.asia/LYQCp.
  3. สรุประบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและการสนับสนุนงบประมาณปี 2559 [ออนไลน์]. 2559. [อ้างเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563]. จาก: https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/fund_ltc03.pdf.
  4. สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, ปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง: กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารสภาการพยาบาล. 2557; 29(4): 22-31.
  5. กัญญาณัฐ สุภาพร. ภาระในการดูแลและปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะประคับประคองที่บ้าน. วารสารเกื้อการุณย์. 2563; 27(1): 150-161.
  6. ณัชศฬา หลงผาสุข, สุปรีดา มั่นคง, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. ภาวะสุขภาพ และการดูแลตนเองของญาติผู้ดูแลวัยสูงอายุ ที่ดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียง. วารสารสภาการพยาบาล. 2561; 33(2): 97-109.
  7. Orapan F, Thammasin I. Quality of life and burden of lung cancer patients’ caregivers: a cross-sectional study from Southern Thailand. JHSMR . 2020; 38(3):177-192.
  8. World Health Organization. Novel Coronavirus (2019-nCov) WHO Thailand Situation Report-6 February 2020. [Online]. 2020. [cited 2020 August 9]. Available from: https://shorturl.asia/4wTLi.
  9. Wosik J, Fudim M, Cameron B, Gellad ZF, Cho A, Phinney D, et al. Telehealth transformation: COVID-19 and the rise of virtual care. J Am Med Inform Assoc. 2020;27(6):957–962.
  10. พิชเญศ วิริยะพงศ์, สหรัถ พงษ์สุระ, อัลจนา เฟื่องจันทร์, ธีรพล ทิพย์พะยอม. การใช้โทรเวชกรรมเพื่อสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561; 28(2): 165-177.
  11. วิยะดา รัตนสุวรรณ, ปะราลี โอภาสนันท์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2561; 11(4): 156-174.
  12. สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์.กระทรวงสาธารณสุข ผลักดันนโยบาย คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน. [ออนไลน์]. 2563. [อ้างเมื่อ 19 สิงหาคม 2563]. จาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200819101128307.
  13. Rodriguez-Sanchez E, Patino-Alonso MC, Mora-Simón S, Gómez-Marcos MA, Pérez-Peñaranda A, Losada-Baltar A, et al. Effects of a psychological intervention in a primary health care center for caregivers of dependent relatives: a randomized trial. Gerontologist. 2013;53(3):397–406.
  14. Bernabéu-Álvarez C, Faus-Sanoguera M, Lima-Serrano M, Lima-Rodríguez J. Systematic review: Influence of Self-Help Groups on family caregivers. Enfermeria Global. 2020;19 (58):560–590.
  15. Zabalegui A, Galisteo M, Navarro MM, Cabrera E. INFOSA intervention for caregivers of the elderly, an experimental study. Geriatr Nurs. 2016;37(6):426–433.
  16. อัญชลี ตักโพธิ์, ชมชื่น สมประเสริฐ, เอกอุมา อิ้มคำ. ผลของโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;35(3):109-119.
  17. Hedlund M, Landstad BJ, Tritter JQ. The disciplining of self-help: Doing self-help the Norwegian way. Soc Sci Med. 2019;225:34–41.
  18. Walz GR, Bleuer J, ERIC Clearinghouse on Counseling and Personnel Services, editors. Developing support groups for students: helping student scope with crises. Ann Arbor, Michigan: Eric Counseling and Personnel Services Clearinghouse; 1992. [cited 2020 August 6]. Available from: https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED340986.pdf.
  19. พิชญา เหลียงพานิช, ชมชื่น สมประเสริฐ, เอกอุมา อิ้มคำ.ผลของโปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนต่อความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; 19(ฉ.พิเศษ): 214-223.
  20. อรวรรณ ศิลปกิจ, รสสุคนธ์ ชมชื่น, ชัชวาล ศิลปะกิจ. คุณสมบัติทางจิตวิทยาของแบบประเมินภาระการดูแล Zarit ในผู้ป่วยจิตเวช. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2558; 23(1): 12-24.
  21. Gratão ACM, Brigola AG, Ottaviani AC, Luchesi BM, Souza ÉN, Rossetti ES, et al. Brief version of Zarit Burden Interview (ZBI) for burden assessment in older caregivers. Dement Neuropsychol. 2019;13(1):122–129.
  22. ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, ชัชวาลย์ ศิลปกิจ. ความเชื่อถือได้ และความแม่นตรงของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2539 ; 41(1) : 2 – 17.
  23. Malt UF, Mogstad TE, Refnin IB. [Goldberg’s General Health Questionnaire]. Tidsskr Nor Laegeforen. 1989;109(13):1391–1394. [Article in Norwegian]
  24. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. Barthel ADL Index ฉบับภาษาไทย [ออนไลน์]. 2559. [อ้างเมื่อ 19 สิงหาคม 2563]. จาก: https://shorturl.asia/XcMlu.
  25. Pattanaphesaj J. Health-related quality of life measure (EQ-5D-5L): measurement property testing and its preference-based score in Thai population [Ph.D. Dissertation in Pharmacy Administration]: Bangkok : Faculty of Graduate Studies; Mahidol University; 2014.
  26. Austrom MG, Geros KN, Hemmerlein K, McGuire SM, Gao S, Brown SA, et al. Use of a multiparty web based videoconference support group for family caregivers: Innovative practice. Dementia (London). 2015;14(5):682–690.
  27. Appleman ER, O'Connor MK, Rockefeller W, Morin P, Moo LR. Using video telehealth to deliver Patient-Centered Collaborative Care: The G-IMPACT Pilot. Clin Gerontol. 2022;45(4):1010-1019.
  28. Banbury A, Nancarrow S, Dart J, Gray L, Parkinson L. Telehealth interventions delivering home-based support group videoconferencing: Systematic review. J Med Internet Res. 2018;20(2):e25. doi: 10.2196/jmir.8090.
  29. Almathami HKY, Win KT, Vlahu-Gjorgievska E. Barriers and facilitators that influence telemedicine-based, real-time, online consultation at patients' homes: Systematic literature review. J Med Internet Res. 2020;22(2):e16407. doi: 10.2196/16407.