GGM
Journal of Gerontology
and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)
ปีที่ 22 ฉบับที่ 2-3
Hard copy
พฤษภาคม-ธันวาคม 2023
หน้า: 54-60, 61-70, 71, 72-73, 74-75, 76, 77-79, 80-81
ด้วยบรรณาธิการได้รับจดหมายจาก อนุสาขาทันตแพทยศาสตร์ของสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย อันเป็นถ้อยแถลงจากการจัดสัมมนาทางวิชาการในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ หลังจากได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ทบทวนแล้ว จึงได้ให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในส่วนของจดหมายถึงบรรณาธิการ ซึ่งประกอบด้วย ถ้อยแถลงฉบับที่ 1 เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาต้านเกล็ดเลือด และถ้อยแถลงฉบับที่ 2 เรื่อง แนวทางการประเมินก่อนให้การดูแลทางทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับยาที่มีผลต่อการหยุดไหลของเลือด สำหรับนิพนธ์ต้นฉบับ ประกอบด้วย บทความวิจัยค่าใช้จ่ายด้านทันตกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องการรับบริการของผู้สูงอายุในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย และบทความวิจัยที่แสดงการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนที่ภาวะความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ยังมีบทคัดย่องานวิจัยจากการประชุมวิชาการของสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย ประจำปี 2566 ที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิตามเกณฑ์การทบทวนบทความของวารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ จำนวน 6 เรื่อง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ การใช้ยาของผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมทั้งที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและการเปลี่ยนแปลงโดยใช้การประเมินค่าคะแนนต่างๆ การจัดการเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และเครื่องมือช่วยเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการอาศัยอยู่ในที่พักของผู้สูงอายุ ฉะนั้น วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 ประจำปี 2566 นี้ จึงมีเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุทางด้านสุขภาพในทุกสาขา
อนึ่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ได้ปรับการตีพิมพ์เล่มวารสารเป็นสองฉบับต่อปี ทั้งนี้ไม่ได้มีผลต่อระยะเวลาการเผยแพร่บทความวิชาการแต่อย่างใด บทความที่ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ และผ่านการกลั่นกรองความถูกต้องในการจัดรูปแบบแล้ว จะได้รับการเผยแพร่ในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะสามารถอ้างอิงบทความดังกล่าวได้ตามรูปแบบสากล
ในท้ายที่สุดนี้ ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ให้ความกรุณาทบทวนบทความในปี 2566 และขอขอบคุณกองบรรณาธิการที่ร่วมการจัดทำวารสารให้ลุล่วงไปได้ด้วยดีตามเวลาที่กำหนด
ถ้อยแถลงฉบับที่ 1 จากสถาบันทันตแพทยศาสตร์ผู้สูงอายุ (TGGM Geriatric Dentistry Academy) อนุสาขาทันตแพทยศาสตร์ สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาต้านเกล็ดเลือด
พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์, ศจี สัตยุตม์, กันยารัตน์ คอวนิช, จุฑารัตน์ ฉิมเรือง, ทัศนี สลัดยะนันทน์, พูลพฤกษ์ โสภารัตน์, สิริพร สาสกุล, นิรดา ธเนศวร, ปภาวรินท์ ตีระจินดา, พิมพ์ชนก พรวนคำ, มัทนา เกษตระทัต, รัชนีวรรณ์ รัตนานุพงศ์, วีรนันท์ วิชาไทย, ศศิธร บัณฑิตมหากุล, อมรรัศมิ์ ชัยฤทธิ์, ออนอง มั่งคั่ง, เอศเธระ ประทีปทองคำ
การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาต้านเกล็ดเลือด รวมถึง ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนที่ทันตแพทย์ควรหาข้อสรุปในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุเป็นอันดับแรก เนื่องจากแม้การปรึกษาแพทย์และแพทย์ให้ความเห็นว่า สามารถถอนฟันได้ตามปกติ ก็ยังพบปัญหาเลือดออกและหยุดยาก นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายยังหยุดยาเองซึ่งเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคประจำตัว หรือบางรายหยุดยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ซึ่งอาจเกิดจากแพทย์คาดว่าเป็นความต้องการของทันตแพทย์ให้หยุดยาก่อนทำหัตถการทางทันตกรรม จึงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคประจำตัวได้ ฉะนั้น ทันตแพทย์จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแพทย์ เพื่อให้ได้แนวทางการติดต่อสื่อสารกับแพทย์และผู้ดูแลผู้ป่วยที่ชัดเจน สำหรับทันตแพทย์และทันตบุคลากรจำเป็นต้องมีความรู้ในการประเมินช่องปากก่อนให้การรักษาทางทันตกรรม เกี่ยวกับภาวะใดหรือหัตถการใดที่มีความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกมากและอาจมีปัญหาในการห้ามเลือด เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาและเตรียมวิธีการห้ามเลือดที่มีประสิทธิภาพ
Statement 1 From Thai Society for Gerontology and Geriatric Medicine (TGGM) Geriatric Dentistry Academy; Oral health care for older adults who are taking anticoagulants or antiplatelet drugs
Patcharawan Srisilapanan, Sajee Sattayut, Kanyarat Korwanich, Jutharat Chimruang, Thatsanee Saladyanan, Poolpruek Soparat, Siriporn Saskul, Nirada Dhanesuan, Paphawarin Terachinda, Pimchanok Pkham, Matana Kettratad, Ratchaneewan Ratananupong, Weeranun Vichathai, Sasithorn Bunditmahakul, Amornrat Chaiyarit, Onong Mungkung, Esthera Prateeptongkum
Oral health care for older adults who are taking anticoagulants or antiplatelet drugs, which affect blood clotting, is a major concern for dental professionals. This issue needs to be understood beyond the currently available scientific information. There has been a practical problem even when medical doctors agree to perform oral care. Routine tooth extraction still encounters difficulties in stopping bleeding.
In addition, some patients prefer to stop taking their medications on their own, which carries the risk of relapse. The advice of a physician to discontinue medication may be decided by assuming that it is the needs of dentists. However, it may increase the patient's risk.
Dentists should have a good understanding of the medical issues that may require consultation with a doctor. It is important to communicate directly with the medical doctor to clarify the meaning of the consultation and ensure that dental treatment can be performed. There should be clear guidelines for appropriate communication between dentists and medical doctors. Before conducting any dental treatment, it is essential for dentists and dental personnel to assess the oral cavity for risks and complications and to have effective methods to prevent bleeding. Proper assessment and preparation can help in planning a suitable treatment.
ถ้อยแถลงฉบับที่ 2 จากสถาบันทันตแพทยศาสตร์ผู้สูงอายุ (TGGM Geriatric Dentistry Academy) อนุสาขาทันตแพทยศาสตร์ สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย เรื่อง แนวทางการประเมินก่อนให้การดูแลทางทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับยาที่มีผลต่อการหยุดไหลของเลือด
พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์, ศจี สัตยุตม์,จุฑารัตน์ ฉิมเรือง, พูลพฤกษ์ โสภารัตน์, สิริพร สาสกุล, รัชนีวรรณ์ รัตนานุพงศ์, สุวัฒน์ ตันยะ, ทัศนี สลัดยะนันท์, บุศรินทร์ ตันภิบาล, ภานิดา พันธ์ผล, สมเจต ไฝ่ศรี, ประเสริฐ อัสสันตชัย
ในการดูแลทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยาที่มีผลต่อการหยุดไหลของเลือด เพื่อรักษาโรคในระบบไหลเวียนเลือด ได้แก่ โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองนั้น ไม่ควรหยุดยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัวของผู้ป่วย เนื่องจากมีผลเสียต่อสุขภาพและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฉุกเฉินจากการกำเริบของโรคได้ กรณีที่ใช้ยาเพื่อเพิ่มระยะเวลาการแข็งตัวของเลือด หรือการก่อตัวของลิ่มเลือด ค่า INR (international normalized ratio) สำหรับผู้สูงอายุุควรให้มีค่า INR เท่ากับ 1.5 ถึง 2.5 ซึ่งอยู่ในช่วงที่สามารถใช้การห้ามเลือดเฉพาะที่ได้ ไม่ควรใช้ค่า INR ที่เหมาะสมในวัยผู้ใหญ่ คือ ระหว่าง 2 ถึง 3.5 เนื่องผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกที่อวัยวะภายในได้มากกว่าวัยผู้ใหญ่ ฉะนั้น การประเมินทางคลินิกและการตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อนให้การรักษาทางทันตกรรมจึงมีความจำเป็น ในกรณีที่ทันตแพทย์พบว่าค่าการแข็งตัวของเลือดอาจจะมากกว่าที่กำหนดไว้ ควรส่งปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยสูงอายุ ควรสอบถามและแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบ โสม เนื่องจากสารจินเซนโนไซด์ในโสม จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย
สำหรับการประเมินทางคลินิก ทันตแพทย์จะต้องประเมินสุขภาพทั่วไป โดยผู้สูงอายุที่ควบคุมโรคได้ดี พร้อมที่จะรับการรักษาทางทันตกรรม จะต้องมีค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ไม่เกิน 150 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว น้อยกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร ไม่ควรเกิน 100 ครั้งต่อนาที ในกรณีที่มีหัวใจเต้นพลิ้ว จังหวะไม่สม่ำเสมอ ให้วัดซ้ำสองครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ย และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดวัดที่ปลายนิ้ว ไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้การวัดสัญญาณชีพต้องให้ผู้สูงอายุอยู่ในที่เงียบสงบ ผ่อนคลาย ปราศจากสิ่งรบกวน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที เพื่อลดภาวะความดันโลหิตสูงเวลาวัดที่โรงพยาบาล
ทันตแพทย์ต้องประเมินสภาพการอักเสบของเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณที่จะทำการรักษา และประเมินความยากง่ายของหัตถการ เพื่อเตรียมวางแผนการรักษา เช่น ลดการอักเสบก่อน ทยอยให้การรักษา และเตรียมวิธีการห้ามเลือดที่เหมาะสม หากยังไม่ชัดเจนในเรื่องประวัติความเจ็บป่วยและยาที่ผู้ป่วยสูงอายุได้รับ หรือมีค่าสัญญาณชีพที่คาดว่าจะไม่ปกติ ควรส่งปรึกษาแพทย์ที่รักษาประจำ หรือแพทย์ในสถานพยาบาล เพื่อให้ช่วยประเมินภาวะสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลดีต่อการดูแลผู้ป่วย และการเตรียมการป้องกันในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินอันเนื่องมาจากโรคของผู้ป่วยกำเริบ
Statement 2 Thai Society for Gerontology and Geriatric Medicine (TGGM) Geriatric Dentistry Academy Guidance for evaluating the older adults taking anticoagulant or antiplatelet medication before dental treatment.
Patcharawan Srisilapanan, Sajee Sattayut, Jutharat Chimruang, Poolpruek Soparat, Siriporn Saskul, Ratchaneewan Rattanaupong , Suwat Tanya, Thatsanee Saladyanant, Budsarin Tunbhibal, Panida Panphon, Somjet Faisri, Prasert Assantachai
When treating older people with cardiovascular diseases, it is important not to discontinue the anticoagulant or antiplatelet medication during dental treatment which may aggravate medical emergency. For older patients, the INR (international normalized ratio) level for therapeutic purposes should be between 1.5 to 2.5, which means that local hemostasis can be achieved. It is not appropriate for older patients to have an INR in the range of 2 to 3.5 as adult patients because older people tend to have higher than adults. Dentists should conduct clinical and laboratory assessments if there are concerns about excess INR levels and refer older patients to a physician for further consultation. Dentists should also advise older patients not to take any nutritional supplements or herbal products containing agents, such as ginseng, that can increase the risk of bleeding.
Before conducting dental treatment, dentists must assess the general health of older patients and check their vital signs. The systolic blood pressure should not be above 150 mmHg, diastolic blood pressure should be below 90 mmHg, the pulse rate should not exceed 100 beats/min, and oxygen saturation should not be less than 95%. For older patients with atrial fibrillation, dentists should record two cycles of pulse rate to determine the average pulse rate. The vital signs, as mentioned, must be taken when older people rest in a relaxing environment and serene place for at least 15 minutes to avoid “White Coat Hypertension”.
Dentists should also assess the inflammation of the tissue in the operating area and the complexity of the operation to create an appropriate treatment plan. This may include reducing inflammation before the operation, limiting invasive operation for each visit, and preparing methods for achieving hemostasis. If the medical history, especially the medications, of the older patient is not available or if the vital signs show a deviation, the following interventions will be conducted. The dentist should consult a general physician of the patients or a physician in that hospital for physical assessment. This will help to ensure the safety and well-being of older patients during dental treatment and reduce the risk of medical emergencies due to the relapse of their chronic diseases.
2. การจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน: การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ
1. Drug-Related Problems Among Older Inpatients at a Tertiary Care Setting
4. Keys to Success in Elderly Clinic in the Dementia Home Care: The Expert Interviews
5. ศักยภาพและความต้องการรับบริการวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
6. การพัฒนาระบบเตือนความปลอดภัยในอุปกรณ์กายภาพบำบัดด้วยรังสีอินฟราเรดเพื่อผู้สูงวัย
GGM
Journal of Gerontology
and Geriatric Medicine